การเริ่มต้นเปิดร้านเหล้า ทำอย่างไร: ขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณต้องรู้

การเริ่มต้นเปิดร้านเหล้า ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ในการเปิดร้านเหล้า หรือ ธุรกิจกลางคืน ไม่ว่าจะป็น ร้านเหล้า ร้านอาหารมีดนตรีสด เลานจ์ หรือ คาราโอเกะ เป็นธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นกิจการ เพราะนอกจากจะเป็นที่นิยมในหมู่คนทำงานหรือกลุ่มคนที่ต้องการผ่อนคลายหลังเลิกงานแล้ว แต่ยังสามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง หากคุณมีการวางแผนที่ดี และเตรียมตัวอย่างรอบคอบ ด้านล่างนี้คือขั้นตอนที่สำคัญและสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเปิดร้านเหล้า หรือ ธุรกิจกลางคืนประเภทนี้

  1. การวางแผนก่อนเปิดร้าน

1.1 การวิเคราะห์ตลาดให้เข้าใจ
ก่อนเริ่มต้น คุณควรสำรวจตลาดในพื้นที่ที่ต้องการเปิดร้าน เช่น กลุ่มเป้าหมายลูกค้าในพื้นที่นั้นคือใคร ชอบบรรยากาศแบบไหน และมีร้านคู่แข่งจำนวนเท่าไหร่ การเข้าใจตลาดจะช่วยให้คุณวางกลยุทธ์ได้ดีในระยะยาว

1.2 เลือกรูปแบบร้านที่ต้องการจะเปิด
ร้านเหล้าอาจมีหลายสไตล์ เช่น

  • ร้านเหล้า หรือ บาร์เหล้า เล็กๆ ที่เน้นความเป็นกันเอง
  • ร้านเหล้า ที่มีอาหารควบคู่
  • ร้านที่มีดนตรีสดหรือคาราโอเกะ
  • ร้านเหล้าที่มี PR หรือ พริตตี้ คอยให้บริการด้วย
  • ร้านเหล้าสไตล์ ผับ หรือ เลานจ์ Lounge
    ควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การวางแผนงบประมาณ
ในการเปิดร้านเหล้าต้องมีการลงทุนค่อยข้างสูง เช่น ค่าเช่าที่ ค่าตกแต่งร้าน ค่าจ้างพนักงาน และค่าอุปกรณ์ เช่น ตู้แช่ เคาน์เตอร์บาร์ คุณควรจัดทำแผนการเงินเพื่อคำนวณต้นทุนและกำไร ให้ชัดเจน จะได้ไม่เปลื่องงบประมาณโดยไม่จำเป็น หรือ เสียเงินเปล่าๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะมีโอกาสสูงที่งบจะบานปลาย เมื่อเริ่มลงทุนเปิดร้านครั้งแรก

  ธุรกิจร้านเหล้า

  1. ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

สำหรับการทำธุรกิจร้านเหล้าต้องมีการเสียภาษีตามกฎหมาย ดังนี้:
2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • เพราะหากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีในอัตรา 7%

2.2 ภาษีเงินได้

  • หากเป็นบุคคลธรรมดา ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90 หรือ 91)
  • หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50)

2.3 ภาษีสุรา

  • ร้านเหล้าต้องเสียภาษีสุราสำหรับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเครื่องดื่ม

2.4 ภาษีป้าย

  • หากมีป้ายชื่อร้านหรือป้ายโฆษณา คุณต้องจ่ายภาษีป้ายตามขนาดและประเภทของป้าย
  1. ต้องขออนุญาตอะไรบ้าง

3.1 การจดทะเบียนธุรกิจ

  • ต้องจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเลือกรูปแบบการจดทะเบียนที่เหมาะสม เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท

3.2 ใบอนุญาตขายสุรา

  • คุณต้องขอใบอนุญาตขายสุรากับกรมสรรพสามิต ซึ่งต้องเตรียมเอกสาร เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน และเอกสารเกี่ยวกับสถานประกอบการ

3.3 ใบอนุญาตสถานประกอบการ

  • หากร้านของคุณเปิดดึกหรือมีดนตรีสด ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากสำนักงานเขตหรือท้องถิ่นด้วย

3.4 ใบอนุญาตด้านอาหารและสุขอนามัย

  • หากมีการขายอาหาร ก็ควรขอใบอนุญาตเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัยจากสำนักงานสาธารณสุข

เปิดร้านเหล้า

  1. การเลือกสถานที่และการตกแต่งร้าน

4.1 เลือกทำเลที่ดี
ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญ ควรเลือกสถานที่ที่เข้าถึงง่าย ใกล้แหล่งชุมชนหรือสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ย่านคนทำงาน หรือพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น และที่สำคัญควรจะต้องมีที่จอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

4.2 การออกแบบร้าน
ในการตกแต่งร้านควรจะมีบรรยากาศที่คุณต้องการ เช่น ธีมโมเดิร์น ธีมวินเทจ หรือแบบบาร์เปิดโล่ง การจัดที่นั่งให้สะดวกสบายและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับลูกค้า และดูมีสีสันในเวลากลางคืน

 

  1. การจัดซื้อสินค้าและอุปกรณ์

5.1 เลือกซัพพลายเออร์
ควรเลือกซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้สำหรับการจัดหาสุราและวัตถุดิบ เช่น เบียร์ ไวน์ หรือวัตถุดิบสำหรับค็อกเทล ในราคาที่เหมะสม และได้สืนค้าที่ต้องการต่อเนื่อง

5.2 อุปกรณ์ที่จำเป็น

  • เคาน์เตอร์บาร์
  • ตู้แช่เครื่องดื่ม
  • อุปกรณ์ชงค็อกเทล เช่น เชคเกอร์

ธุรกิจเลานจ์

  1. การตลาดและโปรโมชัน

6.1 การสร้างแบรนด์ ให้โดดเด่น
ตั้งชื่อร้านที่จดจำง่าย และสร้างโลโก้ที่มีเอกลักษณ์ และจำง่าย

6.2 การทำการตลาดทางออนไลน์
สร้างเพจร้านบน Facebook, Instagram หรือ TikTok เพื่อโปรโมทร้านและดึงดูดลูกค้า หรือโปรโมททางออนไลน์  เช่น การทำ SEO  ยิงแอดโฆษณา หรือ ลงแบนเนอร์ในเว็บต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าใหม่รู้จักเร็วขึ้น

6.3 การจัดโปรโมชัน

  • โปรโมชั่น Happy Hour
  • ส่วนลดพิเศษในวันเปิดร้าน

6.4 การจัดกิจกรรมพิเศษ

  • ดนตรีสด
  • ธีมปาร์ตี้ในเทศกาลต่างๆ

 

  1. การบริหารจัดการร้าน

7.1 การจ้างและฝึกอบรมพนักงาน
พนักงานเป็นสิ่งสำคัญ คุณควรจ้างบาร์เทนเดอร์ที่มีประสบการณ์และพนักงานเสิร์ฟที่มีใจบริการ

7.2 การจัดการสต๊อกสินค้า
ควรมีระบบจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันสินค้าขาดหรือเกิน

7.3 การจัดการลูกค้า
มอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า เช่น บริการรวดเร็ว และรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุง

 

  1. ข้อคิดและกำลังใจ

ในการเปิดร้านเหล้าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป หากคุณมีความตั้งใจ และมีการวางแผนที่ดี การทำธุรกิจแนวนี้ไม่ใช่แค่การขายเครื่องดื่ม หรือ อาหารเท่านั้น แต่คือการสร้างความประทับใจ และประสบการณ์ให้ลูกค้า ที่จะทำให้ลูกค้าอยากใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

อย่าลืมว่า ความสำเร็จของร้านเหล้าขึ้นอยู่กับทั้งคุณภาพอาหาร บริการที่ดี และการบริหารจัดการที่รอบคอบ ลองเริ่มต้นด้วยก้าวเล็กๆ และพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ คุณอาจเป็นเจ้าของร้านเหล้าที่คนพูดถึงมากที่สุดในพื้นที่ก็เป็นได้นะ!